วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ความน่าจะเป็น ม.5



                          ความน่าจะเป็น ม.5
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความน่าจะเป็น ม.5
                                    ทฤษฎีความน่าจะเป็นเริ่มมาจากปัญหาของการเล่นเกมการพนัน โดยมีนักพนันชาวฝรั่งเศสชื่อ เซอวาลิเยร์ เดอ เมเร (Chevalier de Mire) ซึงนิยมเล่นพนันมาก เดอ เมเร มีปัญหาอยู่อย่างนึงที่ยังแก้ไม่ตกสักที คือปัญหาในการแบ่งเงินพนันกันระหว่างนักพนัน แกเลยเข้าไปขอคำแนะนำจากนักคณิตศาสตร์ที่ปราดเปรื่องที่สุดในฝรั่งเศสยุคนั้น คือปาสคาล (Pascal) และแฟร์มาต์ (Fermat) จนเป็นที่มาของทฤษฎีความน่าจะเป็นในยุคปัจจุบัน

















ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น


1.กราฟ


                                                    

• กราฟเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้สำหรับจำลองปัญหาบางอย่าง
ด้วยแผนภาพที่ประกอบด้วยจุด และเส้นที่เชื่อมระหว่างจุด 2 จุด
• ตัวอย่างเช่น
- แผนภาพที่แสดงเส้นทางของรถไฟฟ้า BTS
- แผนภาพที่แสดงถนนที่เชื่อมเมืองต่าง ๆ
- แผนภาพแสดงโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอน
- วงจรไฟฟ้า
- แผนภาพเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- แผนภาพแสดงเส้นทางการบิน







จุดกำเนิดของทฤษฎีกราฟ


• ทฤษฎีกราฟ เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1736 โดยนักคณิตศาสตร์ชาว
สวิสเซอร์แลนด์ ชื่อ เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler)
• ออยเลอร์ ได้สร้างทฤษฎีที่เรียกว่า “ทฤษฎีออยเลอร์” (ทฤษฎีกราฟ)
ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสะพานเคอนิกส์เบอร์ก “Konigsberg Bridge
Problem” ได้เป็นผลสำเร็จ
• ดังนั้น เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาของทฤษฎีกราฟ 
จุดกำเนิดของทฤษฎีกราฟ
• ปัญหาสะพานเคอนิกส์เบอร์ก
มีเกาะ 2 เกาะ อยู่กลางแม่น้ำพรีเกล (Pregel) ในเมืองเคอนิกส์เบอร์ก
(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น คาลินิการ์ด: Kalinigrad) มีสะพาน 7 สะพาน เชื่อม
ระหว่างเกาะกับแผ่นดิน ดังรูป




คำถามเป็นไปได้หรือไม่ที่ชาวเมืองเคอนิกส์เบอร์กจะท่องเที่ยวเมืองนี้โดยเริ่มต้นจาก

เกาะหรือฝั่งอันใดอันหนึ่งแล้วข้ามสะพานแต่ละแห่งเพียงครั้งเดียวเท่านั้นจนครบ
ทุกสะพาน และเมื่อข้ามสะพานสุดท้ายแล้วจะต้องกลับมาอยู่ที่บริเวณเริ่มต้น


• ออยเลอร์ได้ไขปริศนานี้โดยแปลงปัญหาดังกล่าวเป็นกราฟโดยให้พื้นดิน
แทนจุดยอด และสะพานแทนด้วยเส้นเชื่อม ดังรูป 



• ออยเลอร์สามารถพิสูจน์ยืนยันคำตอบว่าเป็นไปไม่ได้้ที่จะหาเส้นทาง
ดังกล่าว
• จะมีเส้นทางดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกราฟนั้นจะต้องต่อเนื่องและมีจำนวนเส้น
ของแต่ละจุดเป็นจำนวนคู่




ในเชิงคณิตศาสตร์ นิยาม “กราฟ” ดังนี้



บทนิยาม กราฟ G ประกอบด้วย เซตจำกัด 2 เซต คือ 1. เซตที่ไม่เป็นเซตว่างของจุดยอด (Vertexแทนด้วยสัญลักษณ์ V(G) 2. เซตของเส้นเชื่อม (Edge) ที่เชื่อมระหว่างจุดยอด แทนด้วยสัญลักษณ์ E(G)


ข้อสังเกต V(G) ≠  แต่ E(G) อาจเป็นเซตว่างได้






บทนิยาม จุดยอด u และจุดยอด v ของกราฟ เป็นจุดยอดประชิด (Adjacent Vertices) ก็ต่อเมื่อ มีเส้นเชื่อมระหว่างจุดทั้งสอง และเราเรียกจุดยอด u และ v ว่า จุดปลาย (End Point) ของเส้นเชื่อมนั้น     เส้นเชื่อม e ของกราฟ เกิดกับ (Incident) จุดยอด v ถ้าจุดยอด v เป็นจุดปลายจุดหนึ่งของเส้นเชื่อม


https://0a9c0359-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/sukanyameksuwansite/bth-niyam-kraf/1.png?attachauth=ANoY7co_KRbQyfKHyX0m6awYfXn_BXZGgu2iaCp6H7erZL_vO0x0rjwPcN6qjrEJFLbPdBZAXDKmhY0KJvrNC4N7pMdIX2azcJd034-9d_oKNVtEGVy6remgbjGhkaAHyou1mh0WNvYDAdk8b8CzlSd8IIeEOmxKj0LNvaODjUiUwkdlO-JebGdHIDwwdHt1ZuN5DRzLMXB6uuF-rkO98dmzU7bpQ7n2VkLYqo0V7R8VQdhju6UuOmo%3D&attredirects=0


จากกราฟของตัวอย่างที่ 1 จะเห็นว่า 
 
                                        จุดยอด A และจุดยอด B เป็นจุดยอดประชิด

                                        จุดยอด A และจุดยอด C เป็นจุดยอดประชิด

                                        จุดยอด B และจุดยอด C เป็นจุดยอดประชิด

                                        จุดยอด C และจุดยอด D เป็นจุดยอดประชิด

                                แต่    จุดยอด A และจุดยอด D ไม่เป็นจุดยอดประชิด

                                        จุดยอด B และจุดยอด D ไม่เป็นจุดยอดประชิด




บทนิยาม เส้นเชื่อมตั้งแต่ 2 เส้นที่เชื่อมระหว่างจุดยอดคู่เดียวกัน เรียกว่า เส้นเชื่อมขนาน(Parallel Edges)   เส้นเชื่อมที่เชื่อมจุดยอดเพียงจุดเดียว เรียกว่า วงวน 
(Loop)




https://0a9c0359-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/sukanyameksuwansite/bth-niyam-kraf/6.png?attachauth=ANoY7cpCYiCHTMqyMoFu2wGowj-B_pRi59wv86swiaYSoCKnq0aLWO4PergfxwQmPrtEqyjVbNReFiEpxewnJgE3_LtdjFC1cEYPGte45z6czT-25CIHVlU0e5EtVpTX-R59_xbVzkpB4z8un4HCDf27Q3rZqOp6FKXcGX8KEYsunLkhFbW1cPbaMYBVmiQZ5NB-r_9y4osq8SrnJxnQdztklJ4b-p5ckhRi7GKWlCU8VA7ZEaY9Gig%3D&attredirects=0 
  
         จากรูปข้างต้นจะเห็นว่า 
                    e1 และ e2 เป็น เส้นเชื่อมขนาน เส้นเชื่อม eเป็นวงวน  ในกรณีที่กราฟไม่มีเส้นเชื่อมขนาน สามารถใช้สัญลักษณ์ 

         AB เพื่อแทนเส้นเชื่อมระหว่างจุดยอด A และ B ได้ เช่น กราฟในตัวอย่างที่ 1 สามารถเขียนเซตของเส้นเชื่อม E(G)

     ได้ใหม่เป็น E(G) = {AB, BC, AC, CD}
                                                                 http://mathwsk.files.wordpress.com/2012/03/071.png  


2.ดีกรีของจุดยอด




บทนิยาม ดีกรี (Degree) ของจุดยอด v ในกราฟ คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่เส้นเชื่อมเกิดกับจุดยอด v 
ใช้สัญลักษณ์ deg v แทนดีกรีของจุดยอด

 
http://mathwsk.files.wordpress.com/2012/03/19.png

จะเห็นว่า เส้นเชื่อมที่เกิดกับจุดยอด a ได้แก่ เส้นเชื่อม ab และ ac ดังนั้น จำนวนครั้งทั้งหมดที่เส้นเชื่อมเกิดกับจุดยอด a
คือ 2 สำหรับจุดยอด b มีเส้นเชื่อมที่เกิดกับจุดยอด b ได้แก่ เส้นเชื่อม ba, bc และ bb เป็นวงวน เกิดกับจุดยอด b 

กรณีที่มีเส้นเชื่อมเป็นวงวน  จะกำหนดให้นับจำนวนเส้นเชื่อมที่เกิดกับจุดยอดนั้นเพิ่มขึ้น โดยให้นับเส้นเชื่อมที่เป็นวงวน 1 วง วงวนเป็น 2 ดังนั้นจำนวนครั้งทั้งหมดที่เส้นเชื่อมเกิดกับจุดยอด b จึงเป็น 4


ทฤษฎีบท 1       
ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุดจุดในกราฟเท่ากับสองเท่าของจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ


เนื่องจากเส้นเชื่อมแต่ละเส้นในกราฟเกิดกับจุดยอดเป็นจำนวน 2 ครั้ง ดังนั้นเส้นเชื่อมแต่ละเส้นจะถูกนับ 2 ครั้งในผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุด 
นั่นคือ ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุดในกราฟเท่ากับสองเท่าของจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ 



บทนิยาม

       จุดยอดที่มีดีกรีเป็นจำนวนคู่ เรียกว่า จุดยอดคู่ (Even Vertex)

       จุดยอดที่มีดีกรีเป็นจำนวนคี่ เรียกว่า จุดยอดคี่ (Odd Vertex)




ทฤษฎีบท 2    ทุกกราฟจะมีจุดยอดคี่เป็นจำนวนคู่





3.แนวเดินและกราฟเชื่อมโยง



บทนิยาม ให้ u และ v เป็นจุดยอดของกราฟแนวเดิน
 u - v (u - v walk) คือ ลำดับจำกัดของจุดยอดและเส้นเชื่อมสลับกัน
u = u0, e1, u1, e2, u2, …, un-1, en, u= v
โดยเริ่มต้นที่จุดยอด u และสิ้นสุดที่จุดยอด v และแต่ละเส้นเชื่อม eจะเกิดกับจุดยอดui-1 และ uเมื่อ i ∈ {1, 2, …, n}


สมมติว่า แผนผังของเมืองหนึ่งแทนด้วยกราฟดังรูป โดยให้จุดยอดแทนอำเภอ และเส้นเชื่อมแทนถนนที่เชื่อมระหว่างอำเภอสองอำเภอ 

 https://0a9c0359-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/sukanyameksuwansite/naew-dein-laea-kraf-cheuxm-yong/%E0%B8%81%E0%B9%86.png?attachauth=ANoY7cp1cpkwH-eQaRIrhtSrNXak3ksHUWxk4-Z1c0LtMshCmWlXj176aa47dPNqsFRSZllCI3t6GkzJIPtEvXhYQyxXWCLfbMdwe8X3QQKvo-PqOJe0sIXWiyOsEDDBnYQbHrtKiSOBMnRU8ip7QVpsIEN-bcQEsBvMZkbax4RL2GBiOz37r2Gqb1IItny3TuTZmbYRiM0U6mk4L4mGV6Zre_L27PP_khbag31dwy0MSeKNVHkZ-NpXlGZYAQr2Vpk63kHiABHq4d0x-P35kfWjfjoMLEJpng%3D%3D&attredirects=0 

     ในการเดินทางจากอำเภอ A ไปยังอำเภอ D มีเส้นทางการเดินทางหลายเส้นทาง

เส้นทางต่างๆ จะแทนดัวยลำดับของจุดยอดและเส้นเชื่อม ดังนี้

เส้นทาง A, e1, E, e5, D


บทนิยาม  
รอยเดิน (trail) คือ แนวเดินในกราฟที่เส้นเชื่อมทั้งหมดแตกต่างกัน  
วิถี(Path) คือ แนวเดินในกราฟที่จุดยอดทั้งหมดแตกต่างกัน วงจร(Circuit) คือ แนวเดินที่เส้นเชื่อมทั้งหมดแตกต่างกัน โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายเป็นจุดยอดเดียวกัน วัฏจักร(Cycle) คือวงจรที่ไม่มีจุดยอดซ้ำกัน ยกเว้นจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย




บทนิยาม กราฟ G เป็นกราฟเชื่อมโยง(connected graph) ถ้าจุดยอด 2 จุดใดๆ ใน G เชื่อได้ด้วยวิถี





4.กราฟถ่วงน้ำหนัก
 
    
บทนิยาม

   ค่าน้ำหนัก(weight) ของเส้นเชื่อม e ในกราฟ คือ จำนวนที่ไม่เป็นลบที่กำหนดไว้บนเส้นเชื่อม e

    กราฟถ่วงน้ำหนัก(weight graph) คือ กราฟที่เส้นเชื่อมทุกเส้นมีค่าน้ำหนัก





 https://0a9c0359-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/sukanyameksuwansite/kraf-thwng-na-hnak/%E0%B8%81%E0%B9%86%E0%B9%86%E0%B9%86%E0%B9%86%E0%B9%86.png?attachauth=ANoY7crVlxmKkk_CV2HRDJ3QpnK91yHf4lwrzP8LljQFNms0eedRIlQhsDpWdioiBHgbShg8QZU4O9JHLFxOgHjLaV9r71088JvF-3L7iiDaad92Yg2_qIF54xfKKu9Ue97fTtfmE1rUXh1AH21EZDDrHp9IS-Ez0JF_N0xd7qpSchNImKmaNdp4y55HvyxEWHhuUdoFQON5kDIlULzjoMRQrkEp690WdbzEg9Zh1IYjCsZYyMuT5jXSdwj6yhr0ILBqtGQS-B5lz7lHP5d9VAdm4zsGl4lEdlWBiCnC5M4_W7smD_mad2dqRIeDFOZb5lQdOSpVdd9I&attredirects=0


   จะหาเส้นทางจากเมือง  A ไปยังเมือง ทั้งหมดที่ไม่ผ่านเมืองซ้ำกัน
   เส้นทางที่   1 A, B, D, E ระยะทางยาว 2 + 1 + 3 = 4 กิโลเมตร
    เส้นทางที่   2 A, B, D, F, E ระยะทางยาว 2 + 1 + 2 + 2 = 7 กิโลเมตร
   เส้นทางที่   3 A, B, D, C, F, E ระยะทางยาว 2 + 1 + 3 + 6 + 2 = 14    กิโลเมตร
   เส้นทางที่   4 A, C, F, E ระยะทางยาว 5 + 6 + 2 = 13 กิโลเมตร 
   เส้นทางที่   5 A, C, F, D, E ระยะทางยาว 5 + 6 + 2 + 3 = 16 กิโลเมตร
   เส้นทางที่   6 A, C, D, E ระยะทางยาว 5 + 3 + 3 = 11 กิโลเมตร
   เส้นทางที่   7 A, C, D, F, E ระยะทางยาว 5 + 3 + 2 + 2 = 12 กิโลเมตร

            จะเห็นว่าเส้นทางที่   1 A, B, D, E ระยะทางยาว กิโลเมตรเป็นระยะทางที่สั้นที่สุด
จะเห็นว่า วิถี A, B, D, E เป็นวิถีที่สั้นที่สุด

สำหรับกราฟถ่วงนำหนักที่มีจุดยอดและเส้นเชื่อมเป็นจำนวนมาก การหาวิถี A - Z ที่สั้นที่สุด
โดยการค้นหาวิถี A - Z ทั้งหมดแล้วเลือกวิถีที่ผลรวมของค่าน้ำหนักน้อยที่สุด ทำได้ไม่สะดวกและเสียเวลา ในการหาวิถี A - Z ที่สั้นที่สุด


บทนิยาม วิถีที่สั้นที่สุด จากจุด A ถึงจุดยอด Z ในกราฟถ่วงน้ำหนัก คือวิถี A - Z ที่ผลรวมของค่าน้ำหนักของเส้นเชื่อมทุกเส้นในวิถี A-Z น้อยที่สุด


5. กราฟออยเลอร์

ออยเลอร์ได้ให้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับปัญหานี้ไว้ดังนี้

  • เครือข่าย ที่แสดงเป็นกราฟจะประกอบด้วยจุดเชื่อมโยง (Vertices) และเส้นเชื่อมโยงระหว่างจุด เรียกว่า arcs
  • จุด ที่มีจำนวนเส้นที่เชื่อมออกไปยังจุดอื่นเป็นจำนวนคี่ เรียกว่า odd และถ้าจุดนั้นมีเส้นเชื่อมออกไปยังจุดอื่นเป็นจำนวนคู่ จะเรียกว่า even
  • เส้นทางออยเลอร์ คือเส้นทางที่ลากผ่านเส้นต่าง ๆ ในเครือข่าย โดยแต่ละเส้นลากผ่านได้เพียงครั้งเดียว
  • ทฤษฎีของออยเลอร์ กล่าวว่า ถ้าหากว่าเครือข่ายใดมีจุดที่เป็น odd มากกว่าสองขึ้นไป จะไม่มีทางสร้างเส้นทางออยเลอร์ได้

บทนิยาม
        วงจรออยเลอร์(Euler trail) คือ รอยเดินซึ่งผ่านจุดยอดทุกจุดและเส้นเชื่อมทุกเส้นของกราฟ

ทฤษฎีบท
 ให้ G เป็นกราฟเชื่อมโยง จะได้ว่า
G เป็นกราฟออยเลอร์ ก็ต่อเมื่อ จุดยอดทุกจุดของ G มีดีกรีเป็นจำนวนคู่
               กราฟที่มีวงจรออยเลอร์ เรียกว่า กราฟออยเลอร์ (Eulerian graph)


ุ6. ต้นไม้

               ต่อไปเราจะศึกษากราฟที่มีลักษณะพิเศษชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้นไม้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการศึกษาทฤษฎีกราฟ 
 และในการประยุกต์ทางด้านต่างๆ

 เช่น โครงสร้างข้อมูลในวิชาคอมพิวเตอร์ การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบไฮโดร์คาร์บอน หรือในการออกแบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


 บทนิยาม ต้นไม้ (tree) คือ กราฟเชื่อมโยงที่ไม่มีวัฏจักร